วันอังคารที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

ตำนานนางนพมาศ

๑ ตำนานนางนพมาศ
นางนพมาศเกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก
ปรากฏว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
๒ ส่วนในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ในพระราชนิพนธ์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือตำนานนางนพมาศ พระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงการเสด็จประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน มีรับสั่งให้พระสนมนางในตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ประดิษฐ์กระทงเป็นรูป ดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้รับทราบถึงความหมาย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนัมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ด้วยเหตุนี้ ภายหลังประเพณีของหลวงจึงถูกเรียกว่า "ลอยพระประทีป" ต่อมาชาวบ้านเปลี่ยนเรียกเป็น "ลอยกระทง ทรงประทีป" แล้วเปลี่ยนเป็นลอยกระทงแทนภายหลัง ส่วนรอยพระพุทธบาท เล่ากันว่าพระยานาคได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าทรงเหยียบประดิษฐานไว้บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา (อยู่ในอินเดีย) ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ หน้าน้ำ พระยานาคก็จะขึ้นมานมัสการรอยพระพุทธบาท
การลอยกระทงที่คล้าย ๆ กับของไทยเรายังมีในจีน อินเดีย เขมร และพม่า จะต่างกันก็เพียงพิธีกรรมและ ความเชื่อ แม้ในไทยเองก็มีความเชื่อ ความศรัทธาในเรื่องนี้อย่างหลากหลาย เช่น เชื่อว่าลอยกระทงเพื่อ
- บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
- บูชาพระอุปคุตเถระ ที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ซึ่งตำนานเล่าว่าเป็น พระเถระที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้
- ต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์
- แสดงความขอบคุณ และขอขมาพระแม่คงคาซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
- ระลึกถึงและส่งของไปให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ตลอดจนสะเดาะเคราะห์หรือลอยทุกข์โศกโรคภัยต่าง ๆ รวมทั้งอธิษฐานเพื่อขอสิ่งที่ปรารถนา
แม้จะเกิดจากความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่คือการระลึกถึงผู้มีพระคุณ ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธองค์ พระแม่คงคา หรือบรรพชนผู้ล่วงลับด้วยการลอยกระทงไปแสดง ความกตัญญูรู้คุณ นั่นเอง นอกจากนี้ในทางวัฒนธรรมวิถีชีวิต ลอยกระทงยังมีคุณค่าต่อเนื่องไปถึง
- คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้พ่อ แม่ลูก ได้ทำกิจกรรมด้วยกัน เช่น ช่วยกันประดิษฐ์กระทงและไปลอย ร่วมกัน
- คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ทำให้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ สนุกสนานร่วมกัน ทั้งยังช่วยสืบทอดช่างฝีมือท้องถิ่น
- คุณค่าต่อศาสนา เช่น มีการทำบุญให้ทาน ถือศีลที่วัด หรือบูชารอยพระพุทธบาทนำมาซึ่ง การน้อมรำลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
- คุณค่าต่อสังคม ทำให้เอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งน้ำลำคลอง ที่ได้ใช้สอย อำนวยประโยชน์ต่อเราทั้งทางตรงและอ้อม โดยช่วยกันขุดลอกให้สะอาดไม่ทิ้ง สิ่งปฏิกูล
๓. ประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน มีรับสั่งให้พระสนมนางในตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ประดิษฐ์กระทงเป็นรูป ดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้รับทราบถึงความหมาย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนัมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ด้วยเหตุนี้ ภายหลังประเพณีของหลวงจึงถูกเรียกว่า "ลอยพระประทีป" ต่อมาชาวบ้านเปลี่ยนเรียกเป็น "ลอยกระทง ทรงประทีป" แล้วเปลี่ยนเป็นลอยกระทงแทนภายหลัง ส่วนรอยพระพุทธบาท เล่ากันว่าพระยานาคได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าทรงเหยียบประดิษฐานไว้บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา (อยู่ในอินเดีย) ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ หน้าน้ำ พระยานาคก็จะขึ้นมานมัสการรอยพระพุทธบาท
๔. นางนพมาศ
นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนาง เรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท นางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการ
เข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย เรื่องนี้แต่งด้วยร้อยแก้วแต่มีคำประพันธ์ลักษณะเป็นกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่บ้าง ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ
ไตรภูมิพระร่วง
เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์
พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนังสือนางนพมาศ เรื่องนี้มีคุณค่าหลายอย่างคือ
1. คุณค่าทางวรรณคดี เป็นประโยชน์ในการสอบสวนราชประเพณี ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนัก ตลอดจนการปฏิบัติตนของหญิงชาววัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ทรง
สอบค้นจากหนังสือเล่มนี้
2. คุณค่าทางวิชาการช่างสตรี เรื่องนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าผู้หญิงไทยมีนิสัยชอบการประดิษฐ์มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งการจัดขันหมากรับรองแขกเมืองได้อย่างประณีต เป็นแบบฉบับในการจัดขันหมากในพิธีแต่งงานมาจนทุกวันนี้ และถือว่า ตำรับ
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นตำราการช่างสตรีเล่มแรกของไทย
3. คุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์ เรื่องนี้มีคุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์น้อยมาก เพราะมี
การดัดแปลงแต่งเติมภาษาและสำนวนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมมาก
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า นางนพมาศ เป็นกวีหญิงคนแรก
ผู้แต่ง นางนพมาศ
ทำนองการแต่ง แต่งเป็นคำร้อยแก้ว มีร้อยกรองแทรกอยู่บ้าง
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้คำแนะนำตักเตือนแก่ข้าราชสำนักฝ่ายในในการปฏิบัติตนให้เหมาะสม ให้เป็นกิริยามารยาทดีงาม และเป็น
การสรรเสริญพระมหากษัตริย์ด้วย
สาระสำคัญ เนื้อหาของเรื่องนางนพมาศ มีเนื้อเรื่องเป็นอันเดียวกันหมด ตอนต้นเป็นข้อความปรากฏในบานแพนก กล่าวถึงนางนพมาศ จากนั้น
กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ สภาพความเป็นอยู่ของกรุงสุโขทัย ยอเกียรติพระร่วงเจ้า และกล่าวถึงกำเนิดนางนพมาศ การถวายตัวเข้ารับราชการฝ่าย
ในข้อที่ควรปฏิบัติของกุลสตรี และปะเพณีต่างๆ ที่กระทำในสมัยสุโขทัย เช่น เดือนสิบสองมีพระราชพิธีจองเปรียง เดือนอ้ายมีพระราชพิธีตรียัม-
ปวายหรือพิธีโล้ชิงช้า เดือนยี่มีพิธีเถลิงพระโคกินเลี้ยง เดือนสามมีพระราชพิธีเผาข้าว ฯลฯ นอกจากนั้นยังกล่าวสั่งสอนความประพฤติของข้าราชการฝ่ายใน
ตัวอย่างในนางนพมาศ
ข้อปฏิบัติของนางนพมาศ
"พึงให้ทราบว่า ข้าน้อยนพมาศ พึงกระทำกิจในสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงพระมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นที่ควรกับเหตุ ถูกต้องพระ
ราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อเสียงว่า เป็นสตรีนักปราชญ์ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน"
การประดิษฐ์โคมในพระราชพิธีจองเปรียง
"ข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่าเป็นนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระจันทร์แจ่มแสงปราศจากเมฆมลทิน อันว่าดวงดอกชาติโกสุมประ-
ทุมมาลย์มีแต่จะแบ่งบานกลีบรับแสงอาทิตย์ ถ้าชาติอุบลเหล่าใดบานผกาเกสรรับแสงจันทร์แล้วก็ได้ชื่อว่า ดอกกระมุท ข้าพระองค์จึงทำโคมลอย
เป็นรูปดอกกระมุท ซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมมทานที อันเป็นที่พระบวรพุทธบาทประดิษฐาน"
คุณค่าและประโยชน์
๑. ด้านสังคม เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคมในสมัยสุโขทัย แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย ชนชอบทำบุญและรื่นเริงจิตใจ
๒. ด้านวัฒนธรรมประเพณี กล่าวถึงการประพฤติปฏิบัติและการวางตนของสตรี ประเพณีของข้าราชสำนักฝ่ายใน
๓. ด้านอักษรศาสตร์ สำนวนอ่าน๑ ตำนานนางนพมาศ
นางนพมาศเกิดในรัชกาลพญาเลอไท กษัตริย์ที่ 4 แห่งราชวงศ์พระร่วง บิดาเป็นพราหมณ์ชื่อ โชติรัตน์ มีราชทินนามว่า พระศรีมโหสถ รับราชการในตำแหน่งปุโรหิต มารดาชื่อ เรวดี ภายหลังนางนพมาศได้ถวายตัวเข้าทำราชการในราชสำนักสมเด็จพระร่วงเจ้า สันนิษฐานว่ารับราชการในแผ่นดินพระมหาธรรมราชาที่ 1 (ลิไท) จนกระทั่งได้รับตำแหน่ง "ท้าวศรีจุฬาลักษณ์" พระสนมเอก
ปรากฏว่า นางนพมาศได้ทำคุณงามความดีเป็นที่โปรดปรานของพระร่วงในกาลต่อมา ที่สำคัญๆ มีอยู่ 3 ครั้ง คือ
ครั้งที่ 1 เข้าไปถวายตัวอยู่ในวังได้ห้าวัน ก็ถึงพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป นางได้คิดประดิษฐ์โคมเป็นรูปบัวกมุทบาน มีนกเกาะดอกไม้สีสวยๆ ต่างๆ กัน เป็นที่โปรดปรานของพระร่วงมาก
ครั้งที่ 2 ในเดือนห้ามีพิธีคเชนทร์ศวสนาน เป็นพิธีชุมนุมข้าราชการทุกหัวเมือง มีเจ้าประเทศราชขึ้นเฝ้าถวายเครื่องราชบรรณาการด้วย ในพิธีนี้พระเจ้าแผ่นดินทรงรับแขกด้วยเครื่องหมากพลู นางนพมาศได้คิดประดิษฐ์พานหมากสองชั้นร้อยกรองด้วยดอกไม้งดงาม พระร่วงทรงโปรดปรานและรับสั่งว่า ต่อไปผู้ใดจะทำการมงคลก็ดี รับแขกก็ดี ให้ใช้พานหมากรูปดังนางนพมาศประดิษฐ์ขึ้น ซึ่งเป็นต้นเหตุของพานขันหมากเวลาแต่งงาน ซึ่งยังคงใช้จนถึงปัจจุบัน
ครั้งที่ 3 นางได้ประดิษฐ์พนมดอกไม้ ถวายพระร่วงเจ้าเพื่อใช้บูชาพระรัตนตรัย พระร่วงทรงพอพระทัยในความคิดนั้น ตรัสว่า แต่นี้ต่อไปเวลามีพิธีเข้าพรรษาจะต้องบูชาด้วยพนมดอกไม้กอบัวนี้
๒ ส่วนในหนังสือตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ ในพระราชนิพนธ์สมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 หรือตำนานนางนพมาศ พระสนมเอกของพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือพระร่วง แห่งกรุงสุโขทัย ได้กล่าวถึงการเสด็จประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน มีรับสั่งให้พระสนมนางในตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ประดิษฐ์กระทงเป็นรูป ดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้รับทราบถึงความหมาย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนัมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ด้วยเหตุนี้ ภายหลังประเพณีของหลวงจึงถูกเรียกว่า "ลอยพระประทีป" ต่อมาชาวบ้านเปลี่ยนเรียกเป็น "ลอยกระทง ทรงประทีป" แล้วเปลี่ยนเป็นลอยกระทงแทนภายหลัง ส่วนรอยพระพุทธบาท เล่ากันว่าพระยานาคได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าทรงเหยียบประดิษฐานไว้บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา (อยู่ในอินเดีย) ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ หน้าน้ำ พระยานาคก็จะขึ้นมานมัสการรอยพระพุทธบาท
การลอยกระทงที่คล้าย ๆ กับของไทยเรายังมีในจีน อินเดีย เขมร และพม่า จะต่างกันก็เพียงพิธีกรรมและ ความเชื่อ แม้ในไทยเองก็มีความเชื่อ ความศรัทธาในเรื่องนี้อย่างหลากหลาย เช่น เชื่อว่าลอยกระทงเพื่อ
- บูชาพระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
- บูชาพระอุปคุตเถระ ที่บำเพ็ญบริกรรมคาถาในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ซึ่งตำนานเล่าว่าเป็น พระเถระที่มีอิทธิฤทธิ์มาก สามารถปราบพญามารได้
- ต้อนรับพระพุทธเจ้าในวันเสด็จกลับจากเทวโลกเมื่อครั้งไปโปรดพระพุทธมารดาบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์
- แสดงความขอบคุณ และขอขมาพระแม่คงคาซึ่งเป็นแหล่งน้ำให้มนุษย์ได้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
- ระลึกถึงและส่งของไปให้แก่บรรพบุรุษที่ล่วงลับ ตลอดจนสะเดาะเคราะห์หรือลอยทุกข์โศกโรคภัยต่าง ๆ รวมทั้งอธิษฐานเพื่อขอสิ่งที่ปรารถนา
แม้จะเกิดจากความเชื่อที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่คือการระลึกถึงผู้มีพระคุณ ไม่ว่าจะเป็น พระพุทธองค์ พระแม่คงคา หรือบรรพชนผู้ล่วงลับด้วยการลอยกระทงไปแสดง ความกตัญญูรู้คุณ นั่นเอง นอกจากนี้ในทางวัฒนธรรมวิถีชีวิต ลอยกระทงยังมีคุณค่าต่อเนื่องไปถึง
- คุณค่าต่อครอบครัว ทำให้พ่อ แม่ลูก ได้ทำกิจกรรมด้วยกัน เช่น ช่วยกันประดิษฐ์กระทงและไปลอย ร่วมกัน
- คุณค่าต่อชุมชน ทำให้เกิดความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน ทำให้มีโอกาสพบปะสังสรรค์ สนุกสนานร่วมกัน ทั้งยังช่วยสืบทอดช่างฝีมือท้องถิ่น
- คุณค่าต่อศาสนา เช่น มีการทำบุญให้ทาน ถือศีลที่วัด หรือบูชารอยพระพุทธบาทนำมาซึ่ง การน้อมรำลึกถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า
- คุณค่าต่อสังคม ทำให้เอื้ออาทรต่อสิ่งแวดล้อม ตระหนักถึงความสำคัญของแหล่งน้ำลำคลอง ที่ได้ใช้สอย อำนวยประโยชน์ต่อเราทั้งทางตรงและอ้อม โดยช่วยกันขุดลอกให้สะอาดไม่ทิ้ง สิ่งปฏิกูล
๓. ประพาสลำน้ำตามพระราชพิธีในเวลากลางคืน มีรับสั่งให้พระสนมนางในตกแต่งกระทงประดับดอกไม้ธูปเทียนนำไปลอยหน้าพระที่นั่ง ในคราวนั้นท้าวศรีจุฬาลักษณ์ได้ประดิษฐ์กระทงเป็นรูป ดอกบัวกมุทขึ้น ด้วยเห็นว่าเป็นดอกบัวพิเศษที่บานในเวลากลางคืนเพียงปีละครั้งในวันดังกล่าว สมควรทำเป็นกระทงแต่งประทีป ลอยไปสักการะรอยพระพุทธบาท ซึ่งเมื่อพระร่วงเจ้าได้รับทราบถึงความหมาย พระองค์จึงมีพระราชดำรัสว่า "แต่นี้สืบไปเบื้องหน้าโดยลำดับ กษัตริย์ในสยามประเทศถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์ วันเพ็ญเดือน ๑๒ ให้นำโคมลอยเป็นรูปดอกบัว อุทิศสักการะบูชาพระพุทธบาทนัมทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน" ด้วยเหตุนี้ ภายหลังประเพณีของหลวงจึงถูกเรียกว่า "ลอยพระประทีป" ต่อมาชาวบ้านเปลี่ยนเรียกเป็น "ลอยกระทง ทรงประทีป" แล้วเปลี่ยนเป็นลอยกระทงแทนภายหลัง ส่วนรอยพระพุทธบาท เล่ากันว่าพระยานาคได้อัญเชิญพระพุทธเจ้าทรงเหยียบประดิษฐานไว้บนหาดทราย ริมฝั่งแม่น้ำนัมมทา (อยู่ในอินเดีย) ครั้นวันเพ็ญเดือน ๑๒ หน้าน้ำ พระยานาคก็จะขึ้นมานมัสการรอยพระพุทธบาท
๔. นางนพมาศ
นางนพมาศ เป็นธิดาของพระศรีมโหสถกับนาง เรวดี บิดาเป็นพราหมณ์ปุโรหิตในสมัยพระยาเลอไท นางนพมาศได้ถวายตัวเข้ารับราชการในสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท ในยุคสุโขทัย เป็นที่โปรดปรานจนได้เป็นสนมเอกตำแหน่งท้าวศรีจุฬาลักษณ์
นางนพมาศได้เขียนตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ขึ้นเพื่อเป็นหลักประพฤติปฏิบัติตนในการ
เข้ารับราชการของนางสนมกำนัลทั้งหลาย เรื่องนี้แต่งด้วยร้อยแก้วแต่มีคำประพันธ์ลักษณะเป็นกลอนดอกสร้อยแทรกอยู่บ้าง ซึ่งมีการสันนิษฐานว่าแต่งขึ้นใหม่ในมัยรัตนโกสินทร์ เพราะภาษาที่ใช้แตกต่างจากภาษาที่ใช้ในวรรณคดีที่แต่งในยุคเดียวกันคือ คือศิลาจารึกหลักที่ 1 และ
ไตรภูมิพระร่วง
เนื้อเรื่องในตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ กล่าวถึงประเพณีต่างๆ ของไทย เช่น การประดิษฐ์
พานหมากสองชั้นรับแขกเมือง การประดิษฐ์โคมลอยรูปดอกกระมุท (ดอกบัว) เพื่อใช้ในพระราชพิธีจองเปรียงลอยพระประทีป (ลอยกระทง) ซึ่งประเพณีนี้ได้สืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า หนังสือนางนพมาศ เรื่องนี้มีคุณค่าหลายอย่างคือ
1. คุณค่าทางวรรณคดี เป็นประโยชน์ในการสอบสวนราชประเพณี ขนบธรรมเนียมต่างๆ ในราชสำนัก ตลอดจนการปฏิบัติตนของหญิงชาววัง เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชนิพนธ์หนังสือพระราชพิธีสิบสองเดือน ก็ทรง
สอบค้นจากหนังสือเล่มนี้
2. คุณค่าทางวิชาการช่างสตรี เรื่องนี้เป็นหลักฐานแสดงว่าผู้หญิงไทยมีนิสัยชอบการประดิษฐ์มาตั้งแต่โบราณ ซึ่งการจัดขันหมากรับรองแขกเมืองได้อย่างประณีต เป็นแบบฉบับในการจัดขันหมากในพิธีแต่งงานมาจนทุกวันนี้ และถือว่า ตำรับ
ท้าวศรีจุฬาลักษณ์เป็นตำราการช่างสตรีเล่มแรกของไทย
3. คุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์ เรื่องนี้มีคุณค่าทางด้านอักษรศาสตร์น้อยมาก เพราะมี
การดัดแปลงแต่งเติมภาษาและสำนวนผิดแผกแตกต่างไปจากเดิมมาก
ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ถือเป็นหลักฐานที่แสดงให้เห็นว่า นางนพมาศ เป็นกวีหญิงคนแรก
ผู้แต่ง นางนพมาศ
ทำนองการแต่ง แต่งเป็นคำร้อยแก้ว มีร้อยกรองแทรกอยู่บ้าง
วัตถุประสงค์ในการแต่ง เพื่อให้คำแนะนำตักเตือนแก่ข้าราชสำนักฝ่ายในในการปฏิบัติตนให้เหมาะสม ให้เป็นกิริยามารยาทดีงาม และเป็น
การสรรเสริญพระมหากษัตริย์ด้วย
สาระสำคัญ เนื้อหาของเรื่องนางนพมาศ มีเนื้อเรื่องเป็นอันเดียวกันหมด ตอนต้นเป็นข้อความปรากฏในบานแพนก กล่าวถึงนางนพมาศ จากนั้น
กล่าวถึงชาติและภาษาต่างๆ สภาพความเป็นอยู่ของกรุงสุโขทัย ยอเกียรติพระร่วงเจ้า และกล่าวถึงกำเนิดนางนพมาศ การถวายตัวเข้ารับราชการฝ่าย
ในข้อที่ควรปฏิบัติของกุลสตรี และปะเพณีต่างๆ ที่กระทำในสมัยสุโขทัย เช่น เดือนสิบสองมีพระราชพิธีจองเปรียง เดือนอ้ายมีพระราชพิธีตรียัม-
ปวายหรือพิธีโล้ชิงช้า เดือนยี่มีพิธีเถลิงพระโคกินเลี้ยง เดือนสามมีพระราชพิธีเผาข้าว ฯลฯ นอกจากนั้นยังกล่าวสั่งสอนความประพฤติของข้าราชการฝ่ายใน
ตัวอย่างในนางนพมาศ
ข้อปฏิบัติของนางนพมาศ
"พึงให้ทราบว่า ข้าน้อยนพมาศ พึงกระทำกิจในสมเด็จพระร่วงเจ้ากรุงพระมหานครสุโขทัย ตั้งจิตคิดสิ่งซึ่งเป็นที่ควรกับเหตุ ถูกต้องพระ
ราชอัชฌาสัยพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ปรากฏชื่อเสียงว่า เป็นสตรีนักปราชญ์ฉลาดในวิชาช่างอยู่ชั่วกัลปาวสาน"
การประดิษฐ์โคมในพระราชพิธีจองเปรียง
"ข้าพระองค์สำคัญใจคิดเห็นว่าเป็นนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือนสิบสอง พระจันทร์แจ่มแสงปราศจากเมฆมลทิน อันว่าดวงดอกชาติโกสุมประ-
ทุมมาลย์มีแต่จะแบ่งบานกลีบรับแสงอาทิตย์ ถ้าชาติอุบลเหล่าใดบานผกาเกสรรับแสงจันทร์แล้วก็ได้ชื่อว่า ดอกกระมุท ข้าพระองค์จึงทำโคมลอย
เป็นรูปดอกกระมุท ซึ่งบังเกิดมีอยู่ยังนัมมทานที อันเป็นที่พระบวรพุทธบาทประดิษฐาน"
คุณค่าและประโยชน์
๑. ด้านสังคม เล่าถึงชีวิตความเป็นอยู่และสภาพสังคมในสมัยสุโขทัย แสดงถึงความอุดมสมบูรณ์ของสุโขทัย ชนชอบทำบุญและรื่นเริงจิตใจ
๒. ด้านวัฒนธรรมประเพณี กล่าวถึงการประพฤติปฏิบัติและการวางตนของสตรี ประเพณีของข้าราชสำนักฝ่ายใน
๓. ด้านอักษรศาสตร์ สำนวนอ่านง่าย ไพเราะ
๔. ด้านศิลปกรรม การประดิษฐ์โคมในการลอยประทีป การจัดพานพระ การจัดขันหมาก
๕. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย โดยเฉพาะสมัยพระยาลิไทย
๖. ด้านโบราณคดี ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ
นางนพมาศ มีอีกชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และ เรวดีนพมาศ
มีผู้แตกความคิดเห็นเป็นสองฝ่ายเกี่ยวกับสมัยที่แต่งนางนพมาศ ฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเป็นยุครัตนโกสินทร์ แต่อีกฝ่ายเห็นว่าสุโขทัย
พระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ ๕ ก็ได้รับอิทธิพลจากนางนพมาศนี้ด้วยง่าย ไพเราะ
๔. ด้านศิลปกรรม การประดิษฐ์โคมในการลอยประทีป การจัดพานพระ การจัดขันหมาก
๕. ด้านประวัติศาสตร์ ให้ความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์กรุงสุโขทัย โดยเฉพาะสมัยพระยาลิไทย
๖. ด้านโบราณคดี ให้ความรู้และรายละเอียดเกี่ยวกับพระราชพิธีต่างๆ
นางนพมาศ มีอีกชื่อว่า ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ และ เรวดีนพมาศ
มีผู้แตกความคิดเห็นเป็นสองฝ่ายเกี่ยวกับสมัยที่แต่งนางนพมาศ ฝ่ายหนึ่งอ้างว่าเป็นยุครัตนโกสินทร์ แต่อีกฝ่ายเห็นว่าสุโขทัย
พระราชพิธีสิบสองเดือน ของรัชกาลที่ ๕ ก็ได้รับอิทธิพลจากนางนพมาศนี้ด้วย

ไม่มีความคิดเห็น: